การพัฒนาการด้าน KM ในหน่วยงานต่าง ๆ

การจัดการความรู้หรือที่เรารู้จักและชอบพูดถึงก็คือ KM KM คืออะไร เรามาทำความรู้จักกับKMโดยผ่าน
บทความของท่านดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด กันเลยค่ะ

สาระน่ารู้ด้านล่างนี้นำมาจากบทความของ ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม) http://gotoknow.org/blog/beyondkm/328281

คำถามที่ผมมักจะได้รับจากพวกที่ทำกิจกรรม ทำเวที KM มามากมาย ก็คือ . . .
“แล้วผมควรจะทำอะไรต่อ?”
จากการที่ได้มีโอกาสเห็น “พัฒนาการด้าน KM” ในหน่วยงานมากมาย ผมได้ลองนำมาจัดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ คือ
กลุ่มที่แรก เป็นพวกที่ยัง “ทำ KM ตามรูปแบบ” ค่อนข้างมาก คือดำเนินไป “ตามกรอบ” ที่กำหนดทุกอย่าง เรียกได้ ว่า “ยึดเกณฑ์เป็นใหญ่” โดยไม่สนใจในบริบทของตนเองเท่าใดนัก มีเป้าหมายอยู่ที่การประเมินเท่านั้น ต้องการจะทำเพื่อให้ได้คะแนนประเมิน สูงๆ KM ของหน่วยงาน ประเภทนี้จะมีรูปแบบที่ค่อนข้างจะ “ตายตัว” เดินไปตามขั้น ตอนที่กำหนดทุกอย่าง เช่น มีการตั้งกรรมการ KM (อย่างเป็นทางการ) มีการวางแผน (ทั้งที่บางทีก็ยังไม่เข้าใจด้วยซ้ำไป ว่าหลักการที่สำคัญของ KM คืออะไร? ทำไปทำไม?) ให้ความสนใจทั้งหมดไปที่ "ตัวชี้วัด (KPI)" ลืมไปว่า KPI นั้น แท้จริงแล้วไม่ ต่างอะไรจาก “นิ้วที่ใช้ชี้ไปที่ดวงจันทร์” แต่หน่วยงานที่อยู่ในกลุ่มนี้ กลับเป็นพวกที่ให้ความสำคัญกับ นิ้วที่ใช้ชี้ แทนที่จะให้ความสำคัญกับ ดวงจันทร์ ด้วยเหตุดังกล่าวเรา จึงมักจะพบว่า “กิจกรรม” ต่างๆ ที่ทำไปนั้น เป็นเพียงการทำเพื่อให้เป็นไปตามแผน ที่เขียนไว้ ทุ่มเทไปกับการพิสูจน์ (ยืนยัน) เพื่อให้ผู้ประเมินได้เห็นว่า “ข้าได้ ทำทุกกิจกรรม ไม่ต่ำกว่า 80 % ตามที่ระบุไว้ในแผน” เพราะต้องการจะได้คะแนนสูงๆ เท่านั้น
กลุ่มที่สอง เป็นพวกที่ไม่ได้จับจ้องอยู่แค่ตรง “นิ้วที่ใช้ชี้” (หรือ KPI) เท่านั้น แต่ได้ให้ความสำคัญกับ “ดวงจันทร์” ด้วยเช่นกัน คือ ให้ความสนใจใน ผลงาน (ผลิตภัณฑ์และการบริการ) ให้ความสนใจที่ Performance (คุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล) เป็นพวกที่เข้าใจ หลักการแท้จริงของ KM รู้ว่าทำ (กิจกรรม) KM ไปทำไม? กล้าที่จะทำ อะไร ที่นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในแผน เป็นพวกที่รู้อยู่แก่ใจว่า การจัดการความรู้ จะสมบูรณ์ได้ จะต้องให้ความสำคัญกับความรู้ ทั้งที่อยู่ในรูป Explicit(ความรู้ที่ชัดแจ้ง) และ Tacit(ความรู้ที่อยู่ในตัวคน) ด้วยเหตุนี้คนกลุ่มนี้ื จึงให้ความสำคัญกับการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ค่อนข้างมาก มีการจัด Workshop เพื่อฝึกคุณกิจ ให้เห็นประโยชน์ของ การแชร์ Tacit สอนให้เปิดใจ สอนให้มีทักษะในการฟัง มีทักษะในการทำ Dialogue มีการจัด Workshop คุณอำนวย (Facilitator) คุณเอื้อ (CKO ระดับต่างๆ) เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของการเป็น คุณเอื้อ/ คุณอำนวย มีการจัดเวที Knowledge Sharing ขึ้นมากมาย เรียกได้ว่าเกิด “กิจกรรม KM” เต็มไปหมด แต่แล้วคำถามที่ผม มักจะได้รับ จากพวกที่ทำกิกรรม ทำเวที KM มามากมาย ก็คือ . . . “แล้วผมควรจะทำอะไรต่อ?” ซึ่งคำแนะนำที่ผมให้ ก็คือ . . . “ให้หันมาใช้ KM ในงาน (ในชีวิต) จริง ๆ ซะที !” และนี่ก็คือสิ่งที่พวกที่อยู่ในกลุ่มที่สามเขาทำกัน
เรียกได้ว่ามีประสบการณ์มาบ้างแล้ว ถึงจะเป็นประสบการณ์ผ่าน Workshop หรือเวที ที่จัดทำขึ้นมาก็ตาม แต่ก็สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจได้ระดับหนึ่ง ทำให้ได้รู้ว่าการเปิดใจนั้นสำคัญเพียงใด รู้ว่าทำไมต้องใช้ Dialogue ในการพูดคุย ถูกฝึกให้ Recognize “Inner Voice” คือได้ยิน “เสียงที่อยู่ในหัวตัวเอง” ได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ นานา อาทิ เช่น การทำ AAR หรือที่เรียกเต็ม ๆ ว่า After Action Review ฟังไป ฟังมา ท่านอาจสงสัยว่า ที่พูดมาก็คือสิ่งที่กลุ่มสองทำ แล้วมันแตกต่างกับกลุ่มที่สามตรงไหน? . . . . ต่างกันตรงที่ พวกที่อยู่ในกลุ่มสามได้ "ก้าวข้าม" เรื่องการฝึกฝนไปแล้ว คือก้าวไปสู่การนำสิ่งที่ได้ ฝึกฝนไปใช้ในงาน (ชีวิต) จริง จนเกิดการเรียนรู้ (อย่างแท้จริง) การเรียนรู้ที่ได้จากการปฏิบัตินี้เป็นสิ่งที่มีพลังยิ่งกว่าการเรียนที่มาจาก Workshop หรือจากเวที (ที่จัดขึ้นมา) ซะอีก . . . เป็นการใช้ทักษะที่ฝึกฝนมาในการทำงาน เป็น KM ที่ “เนียนอยู่ในเนื้องาน” เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน เป็น KM ที่สร้าง “พละ” หรือ “พลัง” ให้กับการทำงาน ให้กับชีวิต ไม่ใช่ KM ที่สร้าง “ภาระ” หรือทำให้รู้สึก “พะรุงพะรัง” อย่างที่หลายคนรู้สึก ผมว่าพวกที่อยู่ในกลุ่มนี้ ในที่สุดแล้วจะไม่ติดอยู่กับคำว่า KM . . ไม่ติดอยู่กับเรื่องตัวชี้วัด (KPI) . . ไม่ติดอยู่กับ “นิ้วที่ใช้ชี้ดวงจันทร์"
ท่านสามารถดูรายละเอียด เอกสาร pdf และ video การจัดการความรู้ของ
ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด ได้ที่ website งานประกันคุณภาพฯของคณะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น