วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การพัฒนาการด้าน KM

                        การพัฒนาการด้าน KM ในหน่วยงานต่าง ๆ

          คำถามที่ผมมักจะได้รับจากพวกที่ทำกิจกรรม ทำเวที KM มามากมาย ก็คือ . . .   
  แล้วผมควรจะทำอะไรต่อ?”                                                                                         
            จากการที่ได้มีโอกาสเห็น พัฒนาการด้าน KM”  ในหน่วยงานมากมาย ผมได้ลองนำมาจัดแบ่งออกเป็น  3 กลุ่ม ดังนี้ คือ
กลุ่มที่แรก เป็นพวกที่ยัง ทำ KM ตามรูปแบบ ค่อนข้างมาก คือดำเนินไป ตามกรอบ ที่กำหนดทุกอย่าง เรียกได้   ว่า ยึดเกณฑ์เป็นใหญ่ โดยไม่สนใจในบริบทของตนเองเท่าใดนัก มีเป้าหมายอยู่ที่การประเมินเท่านั้น ต้องการจะทำเพื่อให้ได้คะแนนประเมิน  สูงๆ KM ของหน่วยงาน  ประเภทนี้จะมีรูปแบบที่ค่อนข้างจะ ตายตัว เดินไปตามขั้น  ตอนที่กำหนดทุกอย่าง เช่น มีการตั้งกรรมการ KM (อย่างเป็นทางการ)  มีการวางแผน (ทั้งที่บางทีก็ยังไม่เข้าใจด้วยซ้ำไป   ว่าหลักการที่สำคัญของ KM คืออะไร? ทำไปทำไม?) ให้ความสนใจทั้งหมดไปที่ "ตัวชี้วัด (KPI)" ลืมไปว่า KPI นั้น แท้จริงแล้วไม่ ต่างอะไรจาก นิ้วที่ใช้ชี้ไปที่ดวงจันทร์ แต่หน่วยงานที่อยู่ในกลุ่มนี้ กลับเป็นพวกที่ให้ความสำคัญกับ  นิ้วที่ใช้ชี้ แทนที่จะให้ความสำคัญกับ ดวงจันทร์  ด้วยเหตุดังกล่าวเรา  จึงมักจะพบว่า กิจกรรม ต่างๆ ที่ทำไปนั้น     เป็นเพียงการทำเพื่อให้เป็นไปตามแผน   ที่เขียนไว้ ทุ่มเทไปกับการพิสูจน์ (ยืนยัน) เพื่อให้ผู้ประเมินได้เห็นว่า ข้าได้   ทำทุกกิจกรรม ไม่ต่ำกว่า 80 % ตามที่ระบุไว้ในแผน เพราะต้องการจะได้คะแนนสูงๆ เท่านั้น
กลุ่มที่สอง เป็นพวกที่ไม่ได้จับจ้องอยู่แค่ตรง นิ้วที่ใช้ชี้ (หรือ KPI) เท่านั้น แต่ได้ให้ความสำคัญกับ ดวงจันทร์  ด้วยเช่นกัน คือ ให้ความสนใจใน ผลงาน (ผลิตภัณฑ์และการบริการ) ให้ความสนใจที่ Performance (คุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล) เป็นพวกที่เข้าใจ หลักการแท้จริงของ KM รู้ว่าทำ (กิจกรรม) KM ไปทำไม? กล้าที่จะทำ  อะไร ที่นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในแผน  เป็นพวกที่รู้อยู่แก่ใจว่า การจัดการความรู้ จะสมบูรณ์ได้  จะต้องให้ความสำคัญกับความรู้  ทั้งที่อยู่ในรูป Explicit(ความรู้ที่ชัดแจ้ง) และ Tacit(ความรู้ที่อยู่ในตัวคน)  ด้วยเหตุนี้คนกลุ่มนี้ื  จึงให้ความสำคัญกับการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ค่อนข้างมาก มีการจัด Workshop เพื่อฝึกคุณกิจ ให้เห็นประโยชน์ของ   การแชร์ Tacit สอนให้เปิดใจ สอนให้มีทักษะในการฟัง มีทักษะในการทำ Dialogue มีการจัด Workshop คุณอำนวย (Facilitator) คุณเอื้อ (CKO ระดับต่างๆ) เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของการเป็น คุณเอื้อ/ คุณอำนวย  มีการจัดเวที Knowledge Sharing ขึ้นมากมาย เรียกได้ว่าเกิด กิจกรรม KM” เต็มไปหมด แต่แล้วคำถามที่ผม มักจะได้รับ จากพวกที่ทำกิกรรม ทำเวที KM มามากมาย ก็คือ . . . แล้วผมควรจะทำอะไรต่อ?” ซึ่งคำแนะนำที่ผมให้ ก็คือ . . . ให้หันมาใช้ KM ในงาน (ในชีวิต) จริง ๆ     ซะที !  และนี่ก็คือสิ่งที่พวกที่อยู่ในกลุ่มที่สามเขาทำกัน
กลุ่มที่สาม เป็นพวกที่ผ่าน(เวที) ผ่านการฝึกทักษะด้านต่างๆ มาบ้างพอสมควร           เรียกได้ว่ามีประสบการณ์มาบ้างแล้ว   ถึงจะเป็นประสบการณ์ผ่าน Workshop หรือเวที    ที่จัดทำขึ้นมาก็ตาม แต่ก็สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจได้ระดับหนึ่ง ทำให้ได้รู้ว่าการเปิดใจนั้นสำคัญเพียงใด รู้ว่าทำไมต้องใช้ Dialogue ในการพูดคุย ถูกฝึกให้ Recognize “Inner  Voice” คือได้ยินเสียงที่อยู่ในหัวตัวเอง ได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ นานา อาทิ      เช่น การทำ AAR หรือที่เรียกเต็ม ๆ ว่า   After Action Review ฟังไป ฟังมา ท่านอาจสงสัยว่า ที่พูดมาก็คือสิ่งที่กลุ่มสองทำ แล้วมันแตกต่างกับกลุ่มที่สามตรงไหน? . . . . ต่างกันตรงที่ พวกที่อยู่ในกลุ่มสามได้ "ก้าวข้าม" เรื่องการฝึกฝนไปแล้ว คือก้าวไปสู่การนำสิ่งที่ได้  ฝึกฝนไปใช้ในงาน (ชีวิต) จริง จนเกิดการเรียนรู้ (อย่างแท้จริง) การเรียนรู้ที่ได้จากการปฏิบัตินี้เป็นสิ่งที่มีพลังยิ่งกว่าการเรียนที่มาจาก Workshop หรือจากเวที         (ที่จัดขึ้นมา) ซะอีก . . . เป็นการใช้ทักษะที่ฝึกฝนมาในการทำงาน   เป็น KM ที่ เนียนอยู่ในเนื้องานเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน เป็น KM ที่สร้าง พละหรือ พลังให้กับการทำงาน ให้กับชีวิต ไม่ใช่ KM ที่สร้าง ภาระ หรือทำให้รู้สึก พะรุงพะรัง อย่างที่หลายคนรู้สึก ผมว่าพวกที่อยู่ในกลุ่มนี้ ในที่สุดแล้วจะไม่ติดอยู่กับคำว่า KM . . ไม่ติดอยู่กับเรื่องตัวชี้วัด (KPI) . . ไม่ติดอยู่กับ นิ้วที่ใช้ชี้ดวงจันทร์"
สาระน่ารู้นี้นำมาจากบทความของ ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม) http://gotoknow.org/blog/beyondkm/328281
         ท่านสามารถดูรายละเอียด เอกสาร pdf และ video การจัดการความรู้ของ                       
            ดร.ประพนธ์  ผาสุกยืด ได้ที่ website งานประกันคุณภาพฯของคณะ

ความเสี่ยง (Risk) คืออะไร

ความเสี่ยง (Risk) คืออะไร       􀂈 ความไม่แน่นอนว่าผลลัพธ์จะเกิดขึ้นตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่       􀂈 การกระทำหรือเหตุการณ์ที่อาจจะมีผลบั่นทอนความสามารถขององค์กรที่         
           จะบรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้       􀂈 การกระทำหรือเหตุการณ์ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งโอกาส หรือสิ่งคุกคาม       􀂈 แนวโน้มหรือโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและผลกระทบหากเหตุการณ์อุบัติ
           ขึ้นจริง
การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) คืออะไร 􀂈 กระบวนการระบุหาความเสี่ยงที่สำคัญขององค์กร ประเมินผลกระทบของความเสี่ยง พัฒนาแนวทางการจัดการกับความเสี่ยงและนำไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบ โดยมีการบูรณาการและเน้นความสอดคล้องระหว่างกลยุทธ์ บุคลากร กระบวนงานและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มคุณค่าสูงสุดให้กับองค์กร 􀂈 กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการระบุหาและควบคุมความเสี่ยง ซึ่งมีผลกระทบต่อการบรรลุพันธกิจและเป้าประสงค์ขององค์กร
การบริหารความเสี่ยงเป็นหน้าที่ของใคร 􀂈 ทุกคนเกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงในฐานะที่เป็นผู้ระบุว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้าง  
    ในหน่วยงาน/โครงการหรืองานของตน 􀂈 ฝ่ายบริหารของหน่วยงาน 􀂈 เจ้าของหรือเจ้าภาพความเสี่ยง (Risk Owners) 􀂾 ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน 􀂾 เจ้าของโครงการ/เจ้าของงาน 􀂾 ผู้ที่ไดรับมอบหมายเฉพาะ 􀂾 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management and Review Committee)
เจ้าของ/เจ้าภาพความเสี่ยง (Risk Ownership) 􀂈 มีการตกลงและมอบหมายการเป็นเจ้าภาพความเสี่ยงอย่างเป็นทางการ 􀂈 อาจไม่ใช่คนที่รับผิดชอบการประเมินความเสี่ยงก็ได้ แต่ต้องเป็นคนที่สามารถ   
    ติดตามดูแลให้มีการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ 􀂈 ต้องมีความชัดเจนว่าใครทำหน้าที่อะไร 􀂾 ใครเป็นผู้กำหนดนโยบายว่าส่วนงานจะรับความเสี่ยงได้แค่ไหน 􀂾 ใครรับผิดชอบการบริหารความเสี่ยงในแต่ละระดับ 􀂾 ใครรับผิดชอบแต่ละกระบวนการ/ขั้นตอนของการบริหารความเสี่ยง
􀂾 ใครดูแลการนำมาตรการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติ 􀂾 ใครดูแล กรณีที่เป็นความเสี่ยงร่วม (Interdependent risks)


โดย ดร. สุรพงษ์ มาลี สำนักงาน ก.พ.


"TQA" คืออะไร???

"TQA" คืออะไร???    TQA = Thailand Quality Award

                               แนวทางของ TQA คืออะไร :           แนวทางของ TQA คำนึงถึงความยืดหยุ่นในการดำเนินการที่สอดคล้องและ              
           ต่อเนื่องกันขององค์กร ทั้ง 7 หมวดดำเนินการได้แก่
                                          หมวด 1 การนำองค์กร :           ที่มุ่งเน้นไปถึงความเข้าใจของผู้นำองค์กรที่มุ่งสู่การเป็นเลิศในการบริหาร              
           จัดการองค์กร ซึ่งต้องเข้าใจวิสัยทัศน์และค่านิยมขององค์กร รวมทั้งการ
            สื่อสารความเข้าใจให้มีการร่วมมือของทุกคนในองค์กร รวมทั้งการมีธรรมา  
            ภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
                                    หมวด 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ :
           หมายถึง การจัดทำกลยุทธ์เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรและกำหนดวัตถุประสงค์    
           ที่ชัดเจน ตลอดจนการถ่ายทอดกลยุทธ์นั้นไปสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างสอดคล้อง  
                               หมวยด 3 การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด :
           องค์กรต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลูกค้าและความต้องการของลูกค้าอย่าง      
           ถ่องแท้ ตอบสนองได้อย่างพึงพอใจ และมีความสัมพันธ์ที่ดี
                       หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ :
            เป็นกระบวนการวัดผลการดำเนินงานและทบทวนการดำเนินงาน รวมถึง              
           การบริหารจัดการสารสนเทศ ความพร้อมใช้และเพียงพอในการนำ
           เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
                                             หมวด 5 การมุ่งเน้นบุคลากร :
            บุคลากร ถือเป็นทรัพยากรสำคัญที่องค์ต้องรักษาและเพิ่มคุณค่า การพัฒนา    
           บุคลากร จึงเป็นหน้าที่สำคัญที่องค์กต้องมุ่งสร้างความผูกพันซึ่งสอดคล้อง      
           กับคำขวัญหนึ่งของ ปณท ที่ยังคงยึดถือมานาน "รู้รัก สามัคคี"
                                           หมวด 6 การจัดการกระบวนการ :
           คือความเข้าใจในการจัดการและออกแบบระบบงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัว        
           และมีประสิทธิภาพในการดำเนินการ ตลอดจนต้องมีทบทวนและปรับปรุง       
           กระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ยังคงมาตรฐานประสิทธิภาพและ
           ประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กร อย่างยั่งยืน
                                                หมวด 7 ผลลัพธ์ :
           คือผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานด้านผลผลิต ด้านการมุ่งเน้น            
           ลูกค้า ด้านการเงินและตลาด ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ด้านประสิทธิผล       
           กระบวนการ และด้านการนำองค์กร
           
              หน่วยงานที่เข้าระบบประเมินจะใช้เวลาเตรียมความพร้อมด้าน
           ข้อมูลประมาณ 3 - 5 ปี ตามขั้นตอนที่กำหนด 11 ขั้นตอน ได้แก่                 
                 1. กำหนดขอบเขตของการประเมิน
                 2. กำหนดกลุ่มผู้ทำหน้าที่
                 3. กำหนดรูปแบบวิธีการ  
                 4. จัดทำโครงร่างองค์กร
                 5. ฝึกประเมินตนเอง
                 6. จัดตั้งทีมงานประเมินในแต่ละหัวข้อ
                 7. ดำเนินการประเมินองค์กร
                 8. วิเคราะห์โอกาสในการปรับปรุงและจัดลำดับ        
                 9. จัดทำแผนปรับปรุงแก้ไข
               10. ประเมินและปรับปรุงกระบวนการ
               11. สมัครเข้ารับการประเมิน

             อ้างอิงจาก :วารสารไปรษณีย์ไทย
                ที่มา : www.bloggang.com/mainblog.php?id=ibear&month=25-09-2008&
                         group=12&gblog=3